วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559

พัทยาน้อย

หาดพัทยาน้อย



หรือบางทีก็เรียกกันว่า ทะเลอีสานใต้ ตั้งอยู่ที่บ้านใหม่ภูทอง ต.คันไร่ อ.สิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี บริเวณริมอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธร จากวารินชำราบมาตามหางหลวงหมายเลข 217 (ถนนสถิตนิมานกานต์) ระยะทางประมาณ 62 กิโลเมตร และอีกจุดหนึ่งอยู่ห่างกัน 2 กิโลเมตร (หลักกิโลเมตรที่ 62 และ 64 ตามลำดับ) หรือห่างจากเขื่อนสิรินธรประมาณ 10 กิโลเมตร ลักษณะของพื้นที่บริเวณริมอ่างเก็บน้ำเป็นพื้นทรายกว้างและยาวเข้าไปกลางน้ำ จึงมีคนมาเปิดร้านอาหาร รีสอร์ท ร้านกาแฟ มีลักษณะเป็นแพกลางน้ำ ในฤดูน้ำน้อยระดับน้ำเหนือเขื่อนสิรินธรต่ำลงมากๆ จะเห็นเป็นหาดทรายขาว ลงเล่นน้ำได้ ด้วยความพยายามที่จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำ จึงมีพ่อค้าแม่ค้านำเอาเรือ เจ็ตสกี และห่วงยางมาให้บริการ พัทยาน้อยจึงกลายมาเป็นจุดพักผ่อนหย่อนใจที่เพียบพร้อมด้วยบริการอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวในทุกด้าน

ทางเข้าพัทยาน้อย ที่เที่ยวแห่งใหม่สำหรับชาวอุบลฯ รวมไปจนถึงชาวอีสานใต้ในอีกหลายพื้นที่ที่อยู่ใกล้เคียงกัน อีสานเป็นพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำจำกัดที่เที่ยวที่มีลักษณะแบบนี้มักจะเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย เส้นทางจากวารินชำราบประมาณ 62 กิโลเมตร หรือห่างจากเขื่อนสิรินธร 10 กิโลเมตร แห่งนี้ก็เป็นที่หนึ่งที่ทำหน้าที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวจำนวนมากมายโดยเฉพาะในวันหยุดสุดสัปดาห์ แม้แต่ในวันธรรมดาก็ยังมีคนแวะเวียนมาเรื่อยๆ ทางเข้าหาดพัทยาน้อยเป็นทางแยกเล็กๆ ไม่มีป้ายบอกแต่สังเกตุจากชื่อรีสอร์ทที่มีอยู่ตรงนี้แสดงให้เห็นว่าเป็นที่เที่ยวที่น่าสนใจและบรรยากาศดีจึงได้มีรีสอร์ทเกิดขึ้น ได้แก่ ภูทองรีสอร์ท ติดต่อล่วงหน้าได้ที่ 086-355-7352 , 084-022-4537 www.phuthongresort.com และเดือนฉายรีสอร์ท เลี้ยวเข้ามาในทางเข้าจะมีบรรยากาศที่ดูแล้วไม่เหมือนภาคอีสานเพราะเต็มไปด้วยต้นมะพร้าวอันดับแรกที่เห็นคือร้านกาแฟน่ารักๆ อยู่ขวามือชื่อร้านชิวชิว จากนั้นก็จะเป็นทิวแถวของต้นมะพร้าวทั้งถนนไปจนสุดทาง

สุดทางพัทยาน้อย พอเข้ามาในพัทยาน้อย ถนนสายนี้พาเข้ามาลึกจนสุดทาง ลักษณะภูมิประเทศถ้าหากมองจากทางอากาศพื้นที่ตรงนี้จะเหมือนเป็นแหลมยื่นเข้าไปในอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธร ทุกพื้นที่ริมถนนถูกจับจองเปิดร้านอาหารสไตล์อีสานเป็นกระท่อมหลังใหญ่สำหรับห้องครัวเรียงรายติดกันไม่มีช่องว่าง พื้นที่ของถนน 1 เลน จัดเป็นที่จอดรถประจำร้านจอดร้านไหนกินร้านนั้น เจ้าของร้านทำหลังคามุงกันแดดไว้ให้แบบง่ายๆ แต่ก็ดีกว่าไม่มีอะไรเลยจากที่จอดรถลึกเข้าไปอีกหน่อยก็จะเป็นแนวต้นมะพร้าวที่เห็นเรียงรายกันตลอดแนวถนน ตรงนี้เองที่ทำให้อีสานไม่เป็นอีสานแต่ดูเป็นพัทยาขึ้นมาได้มากเลย

วัดป่านานาชาติ

ตั้งอยู่ที่บ้านบุ่งหวาย ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ห่างจากตัวจังหวัดอุบลราชธานีในเส้นทางศรีสะเกษ ประมาณ 14 กม. ตามทางหลวงหมายเลข 226 วัดป่า นานาชาติเป็นอีกสาขาหนึ่งของวัดหนองป่าพง ในวัดจะมีชาวต่างประเทศบวชจำพรรษาเป็นจำนวนมาก เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย และปฏิบัติทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน ปัจจุบันมีเจ้าอาวาสเป็นชาวต่าง ประเทศ พระภิกษุในวัดเกือบทุกรูปจะสามารถพูดภาษาไทย สวดภาษาบาลีได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเป็น พระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ทำให้เป็นที่เคารพศรัทธาแก่พระพุทธศาสนิกชนทั่วไป

สะพานข้ามทุ่ง ขัวน้อยบ้านชีทวน

ขัวน้อยบ้านชีทวน  ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 1 ตำบลชีทวน  อำเภอเขื่องใน  จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ห่างจากอำเภอเมืองอุบลราชธานี โดยนับจากหอนาฬิกาอุบล ประมาณ 27 กิโลเมตรครับ  เดินทางออกมาทางถนนแจ้งสนิทเส้นอุบล ยโสธร พอมาถึง กม ที่ 23 บ้านท่าวารี (ที่ขายมะพร่สมเผา ปิ้งไก่ท่าวารี) จุดสังเกตุ ทางเข้ามาตำบลชีทวน คือ จะอยู่ด้านซ้ายมือ บริเวณทางโค้งพอดีครับ เพราะฉะนั้นแล้วเพื่อนๆ ขับมาถึงท่าวารี ข้ามสะพานลำเซบายก็ให้ชลอความเร็วแล้วเตรียมตัวเลี้ยวซ้ายได้เลย ทางลงจะเป็นเนินสูง ถนนลาดยางนะครับ  เข้ามาบ้านชีทวน อีก 4.5 กิโลเมตร ครับ จะผ่านบ้านหัวดอน บ้านหัวดูน และถึงบ้านชีทวน  บ้านชีทวน ปากทางเข้าจะมีรูปพระบรมฉายาลักษณ์ของพระเจ้าอยู่หัวครับ ให้เราเลี้ยว ขวาตามทางลาดยาง  แล้วก็เลี้ยวซ้าย ตามทางลาดยางครับ พอมาถึงทางแยก ซึ่งจะเป็นแยกมีทางให้เลี้ยวขวา เฉียงๆ 45 องศา เป็นถนนคอนกรีต ให้เลี้ยวขวาเฉียงๆ เลยครับ แล้วก็จะมีทางให้เลี้ยวซ้าย แล้วขวา แล้วซ้าย ก็จะเจอป้ายทางเข้าอยู่ขวามือครับ สามารถเลี้ยวรถลงไปได้เลยครับ ข้อระวังทางเข้าจะแคบมากครับ รถไม่สามารถสวนกันได้ แต่เพื่อความสะดวกให้จอดรถด้านหน้าแล้วเดินเข้าไปครับประมาณ 200 เมตร

น้ำตกห้วยทรายใหญ่

น้ำตกห้วยทรายใหญ่ (แก่งอีเขียว) อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบุณฑริก-เขายอดมน เป็นน้ำตกที่สวยงาม ห่างจากอำเภอบุณฑริกไปทางทิศเหนือตามเส้นทางหมายเลข ๒๓๖๙ ไปบ้านห้วยทราย เป็นระยะทาง ๒๖ กิโลเมตร ถึงกิโลเมตรที่ ๒๙ มีทางแยกขวาไปอีก ๖ กิโลเมตร ลักษณะเป็นน้ำตกที่ไหลมาตามลานหินลดหลั่นลงไปด้านล่าง บริเวณร่มรื่นมีน้ำมากในช่วงปลายฤดูฝน เที่ยวชมได้ในช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคม


สถานที่ตั้ง:


น้ำตกห้วยทรายใหญ่ อำเภอบุณฑริก จ.อุบลราชธา

ภูหินด่าง

ภูหินด่าง เป็นภูเขาหินทรายที่ประกอบไปด้วยป่าลานหินที่มีลักษณะทางธรณีวิทยาที่สวยงามแปลกตาแตกต่างจากที่อื่น ได้แก่ ลานหินงอก ลานหินเป็นระแหง แอ่งหินเว้า และร่องหินแยก ตามเส้นทางเดินป่าไปสู่ยอดภูเต็มไปด้วยต้นกล้วยไม้ป่านานาชนิดและดอกไม้หลากสีที่ขึ้นอยู่ตามลานหิน แตกต่างกันตามฤดูกาลจากจุดชมวิวบริเวณหน้าผา สามารถมองเห็นพระอาทิตย์ขึ้นในยามเช้ารวมทั้งทะเลหมอกในฤดูหนาว ชมทัศนียภาพที่สวยงามแปลกตาของพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง และสภาพป่าในเขตประเทศลาวและกัมพูชาที่อยู่เบื้องล่าง ที่ผนังหินใต้เพิงผาปรากฏแทบสีแดงและสีชมพูอยู่หลายแห่งซึ่งเป็นที่มาของชื่อ“ภูหินด่าง” ภูหินด่างแห่งนี้ เหมาะสำหรับการกางเต็นท์พักแรม อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 51 กิโลเมตร โดยการเดินทางเข้าภูหินด่างต้องติดต่อเจ้าหน้าที่นำทาง




การเดินทางสู่ภูหินด่างใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2248 จากอำเภอนาจะหลวยถึงบ้านห้วยข่า เลี้ยวเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2254 ถึงบ้านหนองเม็ก มีทางลูกรังแยกไปทางซ้าย เมื่อถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ภจ. 5 (พลาญมดง่าม) ต้องขึ้นเขาชันอีกประมาณ 10 กิโลเมตร ก็จะถึงภูหินด่าง

น้ำตกห้วยหลวง

ณ แนวตะเข็บชายแดนรอยต่อ 3 ประเทศ ไทย ลาว และกัมพูชา ด้วยสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง อุดมสมบูรณ์ไปด้วยผืนป่าที่มีความหลากหลายของพืชพรรณต่าง ๆ อาทิ กล้วยไม้ป่า ดอกไม้ ลานหิน ธารน้ำตก ปรากฏการณ์ธรรมชาติทางธรณีวิทยาอีกมากมายที่น่าสนใจ พื้นที่ดังกล่าวถูกจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย อุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ ๕๓ เนื้อที่ประมาณ ๔๒๘,๗๕๐ ไร่ ในเขตอำเภอบุณฑริก อ.นาจะหลวย และ อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี
ชื่อดั้งเดิมของน้ำตกแห่งนี้ คือ “น้ำตกถ้ำบักเตว” มีที่มาจาก ในอดีตชาวบ้านจะเข้ามาหาของป่าในนี้ โดยที่ถ้ำใต้ผาหินใกล้น้ำตกมีผึ้งหลวงอาศัยทำรังอยู่ วันหนึ่ง นายเตวและกลุ่มเพื่อนก็เข้ามาตีผึ้งเก็บน้ำหวานที่ถ้ำใกล้น้ำตกแห่งนี้ โดยใช้เถาวัลย์โรยตัวลงมาและให้เพื่อนจับไว้ แต่ด้วยเหตุที่นายเตวตีผึ้งหลวงโดยไม่ได้จุดธูปขอเจ้าป่า เจ้าเขาก่อน เพื่อนที่จับเถาวัลย์ จึงกลับมองเห็นเถาวัลย์เป็นงูใหญ่ เลยตกใจฟันไปบนตัวงูจนขาด ร่างของนายเตวจึงตกลงไปตายอยู่ก้นเหวนั้น ตั้งแต่นั้นมา น้ำตกแห่งนี้ก็ได้ชื่อว่า “น้ำตกถ้ำบักเตว”



ต่อมา พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นน้ำตกห้วยหลวง ตามชื่อลำธารต้นน้ำ เพราะทุกปีจะมีคนมาสังเวยชีวิตจากการพลัดตกหน้าผา หรือจมน้ำทุกปี และวันหนึ่ง ญาติของนายเตวมาร้องขอว่า นายเตว มาเข้าฝัน ขอให้เปลี่ยนชื่อน้ำตกเพราะชื่อนั้นถือเป็นการลบหลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์บริเวณนี้ และภายหลังจากได้เปลี่ยนชื่อแล้วก็ไม่ปรากฏอุบัติเหตุอีกเลย

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/157037

น้ำตกโบกลึก

แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดอุบลราชธานี “น้ำตกโบกลึก” เกิดจากจากลำห้วยสูบ ในพื้นที่บ้านใหม่ดงสำโรง ตำบลนาคำ อำเภอศรีเมืองใหม่ ที่ไหลมาจากภูสูบ ไหลลดหลั่นเป็นชั้นเล็กๆ หลากหลายชั้น ซึ่งกระแสน้ำได้พัดพากัดกร่อนก่อให้เกิดหลุมหรือโบกขนาดใหญ่มากมาย มีสถานที่ให้เล่นน้ำอย่างสนุกสนาน ห่างจากทางหลวงหมายเลข 2135 (ถนนสายศรีเมืองใหม่-หนามแท่ง) เพียง 2 กิโลเมตร

น้ำตกโบกลึก

แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดอุบลราชธานี “น้ำตกโบกลึก” เกิดจากจากลำห้วยสูบ ในพื้นที่บ้านใหม่ดงสำโรง ตำบลนาคำ อำเภอศรีเมืองใหม่ ที่ไหลมาจากภูสูบ ไหลลดหลั่นเป็นชั้นเล็กๆ หลากหลายชั้น ซึ่งกระแสน้ำได้พัดพากัดกร่อนก่อให้เกิดหลุมหรือโบกขนาดใหญ่มากมาย มีสถานที่ให้เล่นน้ำอย่างสนุกสนาน ห่างจากทางหลวงหมายเลข 2135 (ถนนสายศรีเมืองใหม่-หนามแท่ง) เพียง 2 กิโลเมตร

ผาแต้ม


ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2534 ครอบคลุมพื้นที่อำเภอโขงเจียม อำเภอศรีเมืองใหม่และอำเภอโพธิ์ไทรมีพื้นที่ติดกับประเทศลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นแบ่งพรมแดนมีพื้นที่ประมาณ 140 ตารางกิโลเมตร สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงและเนินเขามีหน้าผาสูงชันซึ่งเกิดจากการแยกตัวของผิวโลก สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าเต็งรังมีหินทรายลักษณะแปลกตากระจายอยู่ทั่วบริเวณมีพันธุ์ไม้ดอกที่สวยงามขึ้นอยู่ตามลานหิน การเดินทางจากอำเภอโขงเจียมใช้เส้นทาง2134 ต่อด้วยเส้นทาง 2112 แล้วแยกขวาไปผาแต้มอีกราว 5 กิโลเมตรรวมระยะทางจากโขงเจียมประมาณ 18 กิโลเมตร สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ ได้แก่ 
 
เสาเฉลียง อยู่ก่อนถึงผาแต้มประมาณ 3 กิโลเมตรเป็นเสาหินธรรมชาติที่เกิดจากการกัดเซาะของน้ำและลมนับล้านปีมีลักษณะคล้ายดอกเห็ดเรียงรายกันอยู่มากมาย ซึ่งหินดังกล่าวจะปรากฏเห็นซากเปลือกหอยกรวด ทราย อยู่ในเนื้อหิน ซึ่งนักธรณีวิทยาสันนิษฐานว่าเมื่อประมาณล้านกว่าปีมาแล้ว บริเวณนี้คงจะเป็นทะเลมาก่อนชาวบ้านบริเวณนี้เรียกเสาหินที่คล้ายดอกเห็ดนี้ว่า “เสาเฉลียง” ซึ่งแผลงมาจากคำว่า“สะเลียง” ที่หมายถึง “เสาหิน”
 
ผาแต้มและผาขามเป็นหน้าผาสูงที่สวยงามตามธรรมชาติบริเวณด้านล่างของหน้าผามีภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ปรากฏเรียงรายอยู่เป็นระยะมีอายุไม่ต่ำกว่าสามพันถึงสี่พันปี ทางอุทยานฯได้ทำทางเดินจากหน้าผาด้านบนลงไปชมภาพเขียนสีเหล่านี้ที่หน้าผาด้านล่างระยะทางประมาณ 500 เมตร ภาพเขียนจะอยู่บนผนังหน้าผายาวติดต่อกันประมาณ 170 เมตรซึ่งเป็นมุมต่ำกว่า 90 องศา มีภาพทั้งหมดประมาณ 300 ภาพ แบ่งเป็น 4 ประเภท คือสัตว์ เครื่องมือเครื่องใช้ สัญลักษณ์ และคน ด้านตรงข้ามผาแต้มคือประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวโดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นพรมแดนทำให้ผาแต้มเป็นจุดชมวิวที่สวยงามโดยเฉพาะอย่างยิ่งเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจจะชมพระอาทิตย์ขึ้นก่อนที่แห่งใดในประเทศไทยเช่นเดียวกันกับที่หมู่บ้านเวินบึกที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงไม่ไกลจากบริเวณแม่น้ำสองสีมากนักซึ่งทุกวันนี้จะมีนักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไปท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก
 
ถ้ำมืดตั้งอยู่ที่บ้านซะซอม ตามทางหลวงหมายเลข 2112 เลี้ยวซ้ายไปทางบ้านทุ่งนาเมืองประมาณ 15 กิโลเมตร เป็นถ้ำขนาดกว้าง 4 เมตร สูง 6 เมตรภายในถ้ำมีพระพุทธรูปไม้แกะสลักเรียงรายกันมากมายแสดงว่าคงจะเคยใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนามาก่อน
 
น้ำตกสร้อยสวรรค์ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 2112 ห่างจากตัวอำเภอโขงเจียมประมาณ 30 กิโลเมตรเป็นน้ำตกขนาดใหญ่เกิดจากลำธาร 2 สายคือห้วยสร้อยและห้วยไผ่ที่ไหลจากหน้าผาคนละมาบรรจบกันซึ่งสูงประมาณ 20 เมตรมองดูคล้ายสร้อยที่แขวนคอบริเวณน้ำตกเต็มไปด้วยต้นไม้และดอกไม้นานาพรรณมีมากในช่วงปลายฝนต้นหนาวน้ำตกสร้อยสวรรค์จะสวยงามมากในช่วงปลายฤดูฝนเช่นเดียวกับน้ำตกอื่น ๆในบริเวณนี้
 
น้ำตกทุ่งนาเมือง ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 2112 ห่างจากน้ำตกสร้อยสวรรค์ ประมาณ 13 กิโลเมตร โดยมีทางแยกขวาจากบ้านนาโพธิ์กลางไป 10 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดกลางที่มีความสวยงาม ไหลลดหลั่นลงมาตามโขดหินชั้นบนสูงสุดประมาณ 25 เมตร บริเวณโดยรอบมีดอกไม้ต่างๆ มากมายโดยเฉพาะในเดือนตุลาคม-ธันวาคม
 
น้ำตกแสงจันทร์ (น้ำตกรู)ก่อนถึงน้ำตกทุ่งนาเมือง 1 กิโลเมตรมีทางแยกขวาที่บ้านทุ่งนาเมืองไปน้ำตกแสงจันทร์ประมาณ 2 กิโลเมตรเป็นน้ำตกขนาดเล็กที่มีความสวยงามและมีลักษณะพิเศษ เกิดจากลำห้วยเล็ก ๆบนลานหินไหลลอดผ่านหน้าผาหินที่มีลักษณะเป็นรูลงสู่เพิงผาด้านล่างหากเดินทางมาชมตอนช่วงเที่ยงวันซึ่งแสงอาทิตย์ลอดผ่านรูพอดีจะมองเห็นสายน้ำตกเหมือนแสงจันทร์
 

แกรนแคนยอน

โลกโซเชียลแห่แชร์ภาพหนองน้ำที่มีคันดินคดเคี้ยว สูงชัน มีน้ำสีฟ้า สีเขียว สวยงาม พร้อมกับตั้งชื่อให้ว่าเป็น แกรนด์แคนยอนเมืองอุบลฯ ทำให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดฮิตในพริบตา หลายๆ ท่านไม่เว้นแม้แต่คนอุบลฯ ด้วยกันเอง ต่างสงสัยว่า พื้นที่นี้คืออะไร อยู่ส่วนใหนของจังหวัด ไกด์อุบลขอรับใช้มาเล่าสู่กันฟังครับ พื้นที่ตรงนี้ชาวบ้านเรียกว่า "บึงหนองโคตร" ครับ เป็นที่ดินสาธารณะประโยชน์ของตำบลหนองขอน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เดิมมีชื่อว่า "บึงแสนโคตร" ซึ่งเชื่อกันว่า บึงนี้เป็นบึงน้ำดั้งเดิมเมื่อสมัยโบราณของชาวบ้านหนองไหล ซึ่งใช้ทำมาหากินดำรงชีพ ส่วนชื่อแสนโคตรนั้น เล่ากันว่า เป็นชื่อของพญาช้างสารขนาดใหญ่ มีพละกำลังมหาศาล รูปร่างน่าเกรงขาม ใช้แหล่งน้ำแห่งนี้ดื่มกินและเล่นน้ำ ซึ่งชาวบ้านแถวนี้ให้ความเคารพนับถือ และจะไม่ใช้แหล่งน้ำแห่งนี้ เวลาที่พญาช้างแสนโคตรมาเล่นหรือดื่มน้ำปล่อยให้เล่นได้ตามสบาย 
ต่อมา มีการการขุดลอกบึงแห่งนี้ ส่วนหนึ่งก็เพื่อให้เป็นที่กักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้ง และดินที่ขุดส่วนใหญ่นำไปใช้ในการถมพื้นที่ศาลปกครองและศาลากลางจังหวัดหลังใหม่บางส่วน ทำให้มีการขุดเป็นหลายช่วงเวลา จึงทำให้แนวขุดไม่เสม่ำเสมอ แต่ละบ่อจะมีความลึกประมาณ 3-4 เมตร เป็นรองแหว่งรอยคันคูอย่างที่เห็น ดินที่ขุดส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวปนทราย ทำให้น้ำมีความใสจน และเมื่อตกตระกอนจึงทำให้เป็นสีเขียวอมฟ้าอย่างที่เห็น 
การเที่ยวชมแกรนด์แคนยอน บึงแสนโคตร นี้ แนะนำว่า ควรใส่รองเท้าผ้าใบ ระวังการตกคันดิน เพราะทางเดินแคบมาก น้ำในบึงไม่สามารถเล่นได้ ประกอบกับมีความลึกมาก อาจเกิดอันตรายได้ ประการสำคัญ เด็กเล็กไม่ควรลงไปเดินที่คันดินเด็ดขาด
การเดินทางไปแกรนด์แคนยอนเมืองอุบล "บึงแสนโคตร" ให้ใช้ถนนแจ้งสนิท แล้วเข้าทางด้านค่ายลูกเสือหนองไหล ประมาณ 2 กม. ถึงวัดหนองจานไหล จะเจอตลาดซ้ายมือ แล้วจะมีซอยเล็กทางดินแดงเข้าไป เลี้ยวซ้ายไปอีก 500 เมตร ก็จะถึงแล้วครับ